เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โซคอร์ (Zocor®)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โซคอร์ (Zocor®)

ประโยชน์
โซคอร์มีประโยชน์อย่างไร?
โซคอร์ เรียกอีกชื่อว่า ซิมวาสแตติน (Simvastasin) อยู่ในกลุ่มเดียวกับยาที่เรียกว่า สแตติน (HMG CoA reductase inhibitors) ซิมวาสแตตินช่วยลดระดับไขมันไม่ดี (low-density lipoprotein cholesterol หรือ LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มไขมันดี (high-density lipoprotein, หรือ HDL) อีกด้วย
โซคอร์ช่วยลดคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (ไขมันประเภทหนึ่ง) ในกระแสเลือด นอกจากนี้โซคอร์ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หัวใจวาย และโรคเกี่ยวกับหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
โซคอร์ใช้ได้กับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
โซคอร์อาจใช้ได้ในกรณีอื่น ๆ อีกนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น
วิธีใช้โซคอร์ (ซิมวาสแตติน)
บริโภคตามที่ปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่ง และปฏิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากยา ไม่ควรใช้โซคอร์มากเกินขนาด หรือใช้เป็นระยะเวลานานกว่าที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่ง เพราะหากบริโภคเกินขนาดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
รับประทานโซคอร์ช่วงเวลาก่อนนอน หรือรับประทานพร้อมอาหารเย็น หากต้องรับประทานมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน แพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงสุด
ในช่วงที่รับประทานโซคอร์ อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดบ่อย ๆ หากอยู่ในระหว่างการรักษาโรคคอเลสเตอรอลสูง อาจต้องใช้โซคอร์รักษาในระยะยาว ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด จะต้องหยุดยาในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเอง ยกเว้นแต่แพทย์จะสั่ง
โซคอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการรักษาเท่านั้น นอกจากการใช้โซคอร์แล้วยังต้องดูแลเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนัก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องทำตามแผนการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างเคร่งครัด
วิธีเก็บรักษาโซคอร์ (ซิมวาสแตติน)
ควรเก็บโซคอร์ไว้ที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงและความชื้น ไม่ควรเก็บโซคอร์ไว้ในห้องน้ำหรือในตู้เย็นเพราะจะทำให้ยานี้เสียหาย โซคอร์ยี่ห้อต่าง ๆ อาจะมีวิธีเก็บรักษาที่ต่างกัน จำเป็นต้องดูคำแนะนำจากฉลากบนบรรจุภัณฑ์ก่อน หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาทุกประเภทไว้ให้พ้นจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งโซคอร์ลงชักโครก หรือเทลงท่อระบายน้ำ เว้นแต่จะมีคำแนะนำให้ทำเช่นนั้นได้ เมื่อโซคอร์หมดอายุ หรือไม่ต้องการใช้อีกแล้วก็จำเป็นต้องทิ้ง ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทิ้งโซคอร์ที่ถูกต้อง
คำเตือนและข้อควรระวัง
สิ่งที่ควรรู้ก่อนรับประทานโซคอร์
โปรดแจ้งแพทย์ก่อนในกรณีดังต่อไปนี้
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงนี้ต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
- รับประทานยาตัวอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามที่แพทย์สั่ง ยานอกใบสั่ง รวมถึงยาสมุนไพร หรือยาของแพทย์ทางเลือก
- มีอาการแพ้ส่วนผสมในโซคอร์หรือยาอื่น ๆ
- มีอาการป่วยอื่น ๆ
ไม่ควรบริโภคโซคอร์ หากมีอาการแพ้ซิมวาสแตติน อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือช่วงให้นมบุตร หรือเป็นโรคตับ
หากรับประทานร่วมกับโซคอร์ร่วมกับยาดังต่อไปนี้อาจเสี่ยงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ
- ไซโคลสปอรีน (Cyclosporine)
- ดานาโซล (Danazol)
- เจมไฟโบรซิล (Gemfibrozil)
- เนฟาโซโดน (Nefazodone)
- ยาปฏิชีวนะคลาริโทรไมซิน (Clarithromycin) อิริโทไมซิน (Erythromycin) เทลิโทรไมซิน (Telithromycin)
- ยาต้านเชื้อรา ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) เคโทโคนาโซล (Ketoconazole) โพซาโคนาโซล (Posaconazole) โวริโคนาโซล (Voriconazole)
- ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี โบซีพรีเวีย (Boceprevir) เทลาพรีเวีย (Telaprevir)
- ยาต้าน HIV/AIDS อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir) โคบิซิสแตท (Cobicistat) สตริบิลด์ (Stribild) ไทบอสต์ (Tybost) ดารุนาเวียร์ (Darunavir) ฟอสแอมพรีนาเวียร์ (Fosamprenavir) อินดินาเวียร์ (Indinavir) เนวฟินนาเวียร์ (Nelfinavir) ริโทนาเวียร์ (ritonavir) ซาควินาเวียร์ (Saquinavir) ทิพรานาเวียร์ (Tipranavir)
ก่อนเริ่มรับประทานโซคอร์ ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรหากรับประทานยาดังต่อไปนี้อยู่
- โลมิทาไพด์ (Lomitapide)
- ยารักษาโรคหัวใจ อะมิโอดาโรน (Amiodarone) แอมโลดิปีน (Amlodipine) ดิลไทอะเซม (Diltiazem) โดรเนดาโรน (Dronedarone) ราโนลาซีน (Ranolazine) เวอราปามิล (Verapamil)
โซคอร์อาจทำลายกล้ามเนื้อลาย และทำให้เกิดภาวะไตวาย อาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคไต หรือคนที่มีภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
การใช้โซคอร์ในสตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร
ยังไม่มีผลการวิจัยมากพอที่จะระบุความเสี่ยงในการใช้โซคอร์กับสตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบถึงความเสี่ยงก่อนใช้โซคอร์ โซคอร์อยู่ในประเภท X ตามหลักการจัดประเภทยาที่มีอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
หลักการจัดประเภทยาที่มีอันตรายต่อสตรีมีครรภ์
A = ไม่เป็นอันตราย
B = ไม่เป็นอันตราย (ในงานวิจัยบางชิ้น)
C = อาจเป็นอันตรายบ้างเล็กน้อย
D = มีหลักฐานว่าเป็นอันตราย
X = อาจเป็นอันตราย
N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการบริโภคโซคอร์ (ซิมวาสแตติน)
ควรรีบไปโรงพยาบาล หากสังเกตเห็นว่ามีอาการแพ้โซคอร์ เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก มีอาการบวมที่ใบหน้าริมฝีปาก ลิ้น หรือคอ ในบางกรณีโซคอร์อาจทำลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย หรือทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเจ็บหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการไข้ อ่อนเพลียอย่างผิดปกติ และปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- มีสัญญาณของปัญหาเรื่องไต เช่น ปัสสาวะเล็กน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ ปัสสาวะออกลำบาก เท้าและข้อเท้าบวม รู้สึกเหนื่อย หายใจถี่
- มีปัญหาเรื่องตับ เช่น คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน มีอาการคัน รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีโคลน เป็นดีซ่าน
ผลข้างเคียงโดยปกติของโซคอร์มีดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ
- ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดท้อง
- อาการของโรคหวัด เช่น แน่นจมูก จาม หรือเจ็บคอ
บางคนอาจไม่ได้รับผลข้างเคียงเช่นนี้ก็ได้ และอาจจะมีผลข้างเคียงแบบอื่นอีก หากคุณกังวลเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของโซคอร์
โซคอร์ทำปฏิกิริยากับยาอะไรได้บ้าง
โซคอร์อาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่รับประทานอยู่ก่อนหน้า ซึ่งอาจทำให้ยาเดิมออกฤทธิ์เปลี่ยนไป หรืออาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ คุณควรทำรายการชื่อยาที่คุณใช้อยู่ (ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยานอกใบสั่ง รวมถึงยาสมุนไพร) และให้แพทย์หรือเภสัชกรดู เพื่อความปลอดภัย ไม่ควรเริ่มใช้ยาใด ๆ เอง หรือหยุดใช้เอง รวมไปจนถึงเปลี่ยนปริมาณการใช้นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์
ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับโซคอร์มีดังต่อไปนี้
- ดีลาเวอร์ดีน (Delavirdine)
- ฟีโนไฟเบรต (Fenofibrate)
- ฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
ปฏิกิริยาที่โซคอร์มีต่ออาหารหรือแอลกอฮอล์
โซคอร์อาจทำปฏิกิริยาต่ออาหารหรือแอลกอฮอล์ และทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไป หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับอาหารและแอลกอฮอล์
ปฏิกิริยาที่โซคอร์มีต่อโรคต่าง ๆ
โซคอร์อาจทำให้โรคที่เป็นอยู่แย่ลงกว่าเดิม หรือทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไป โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงโรคที่เป็นอยู่ก่อนที่จะใช้โซคอร์
โซคอร์อาจส่งผลเสียในกรณีต่อไปนี้
- มีประวัติเป็นโรคตับ
- มีประวัติเป็นโรคไต
- เป็นโรคเบาหวาน
- ไธรอยด์
- ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองชนิดต่อวัน
ปริมาณการใช้
ข้อมูลต่อไปนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง
ปริมาณการใช้โซคอร์สำหรับผู้ใหญ่
ปริมาณการใช้ปกติสำหรับผู้ใหญ่ที่ใช้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
รับประทานในมื้อเย็น 5-40 มิลลิกรัม หนึ่งครั้งต่อวัน
กรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็น
- ในขั้นต้นให้รับประทานในมื้อเย็น 10-20 มิลลิกรัม หนึ่งครั้งต่อวัน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร
อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการโรคหลอดเลือดหัวใจกำเริบ เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ มีประวัติว่าเคยมีเส้นโลหิตอุดตัน หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ในขั้นต้นให้รับประทานในมื้อเย็น 40 มิลลิกรัม หนึ่งครั้งต่อวัน
ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ที่มีไขมันในเลือดสูงอันเนื่องมาจากพันธุกรรม
ปริมาณที่แนะนำคือ รับประทานตอนเย็น 40 มิลลิกรัม หนึ่งครั้งต่อวัน
ปริมาณการใช้สำหรับเด็ก
ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มีไขมันในเลือดสูงอันเนื่องมาจากพันธุกรรม
ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
สำหรับเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไป
- ในขั้นต้นให้รับประทาน 10 มิลลิกรัมวันละหนึ่งครั้งในมื้อเย็น
- ในระหว่างการรักษา รับประทาน 10-40 มิลลิกรัมวันละหนึ่งครั้งในมื้อเย็น
- ปริมาณที่มากที่สุดที่บริโภคได้คือ 40 มิลลิกรัมวันละหนึ่งครั้งในมื้อเย็น
รูปแบบของโซคอร์
โซคอร์อยู่ในรูปแบบของยาเม็ดเคลือบฟิล์ม (ซิมวาสแตติน 5 มิลลิกรัม)
ข้อปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด โทรเรียกรถพยาบาลหรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ข้อปฏิบัติหากลืมรับประทานยา
ถ้าลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานต่อให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าใกล้จะถึงเวลาที่ต้องรับประทานอีกมื้อหนึ่งแล้ว ให้ข้ามไปรับประทานมื้อต่อไปเลย และไม่ควรรับประทานซ้ำซ้อนกัน

 

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว