เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) คืออะไร

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ใช้ทำอะไร

สรรพคุณ: 
ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายตะบองเพชร ซึ่งเจริญเติบโตในสภาพอาการร้อน หรือภูมิอากาศแห้งแล้ง
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ วุ้นและยาง วุ้นของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ได้จากเซลล์ส่วนกลางของใบ ในขณะที่ยางได้จากเซลล์ใต้ผิวของใบว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สามารถนำมารับประทาน หรือทาผิวได้

การรับประทานวุ้นของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สามารถช่วย:

  • ลดน้ำหนัก
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไวรัสตับอักเสบ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคหอบหืด
  • บาดแผลที่ผิวหนังที่เกิดจากรังสี
  • เป็นไข้
  • อาการคัน และอาการอักเสบ
  • สารเคมีตัวหนึ่งในว่านหางจระเข้ชื่อ แอซีแมนแนน ใช้รับประทานสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์)
  • สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยังใช้ในผู้ป่วยที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง
  • ส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ใช้รับประทานเป็นยาระบายเมื่อท้องผูก
  • ใช้ในอาการชัก
  • โรคหืด
  • ไข้หวัด
  • เลือดออก
  • รอบเดือนมาไม่ปรกติ
  • การบวมของลำไส้ใหญ่จากการอักเสบ
  • อาการซึมเศร้า
  • เบาหวาน
  • อาการผิดปกติของตาที่อาจนำไปสู่ตาบอด
  • มัลติเพิล สเคลอโรซิส
  • ริดสีดวงทวารหนัก
  • เส้นเลือดขอด
  • ข้ออักเสบ
  • ข้อเสื่อม
  • ปัญหาด้านการมองเห็น
  • ใบว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สดยังสามารถรับประทานเพื่อรักษามะเร็งในช่องปาก
  • เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยังถูกใช้รักษาสิว และอาการผิวหนังอักเสบที่เรียกว่า ไลเคน พลานัส
  • การอักเสบในช่องปาก
  • การแสบร้อนช่องปาก
  • ผิวหนังถูกทำลายที่เกิดจากรังสี
  • คราบหินปูน
  • ผื่นผ้าอ้อม
  • อาการที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำลายด้วยความเย็นจัด
  • โรคเหงือก
  • แผลกดทับ
  • โรคหิด
  • รังแค
  • การสมานแผล
  • เส้นเลือดขอด
  • และความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
  • เส้นเลือดขอด
  • ข้ออักเสบ
  • การอักเสบและยังใช้เป็น
  • ยาระงับเชื้อ
  • สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยังถูกใช้รักษาโรคเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ
  • ผิวบอบบางและคัน
  • รอยไหม้
  • รอยไหม้จากแดด และผิวแห้ง
  • สารสกัดจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยังใช้เป็นสารต้านแมลง
  • น้ำที่ได้จากใบของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ทาลงบนผิวเพื่อรักษาแผลที่ทวารหนัก
  • สารแอซีแมนแนน (Acemannan) ในว่านหางจระเข้ ใช้ทาเพื่อรักษากระดูกเบ้าฟันอักเสบ และแผลร้อนใน
  • เจลว่านหางจระเข้อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังซึ่งจะช่วยในการรักษาโรคสะเก็ดเงินได้
  • ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น โดยปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดบริเวณที่มีแผล และช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ตายรอบ ๆ แผล
  • เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) มีคุณสมบัติที่เป็นพิษต่อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด
  • ยางของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) มีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายกับยาระบาย

ข้อควรระวังและคำเตือนในการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera):
ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
• กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
• มีอาการแพ้ในว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
• มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
• มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) นั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยในการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera):
ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) มีความปลอดภัยกับผิวหนังหากใช้เป็นยาหรือเครื่องสำอางอย่างเหมาะสม ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ยังมีความปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ โดยสามารถรับประทานเจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) วันละ 15 มิลลิลิตร เป็นเวลา 42 วัน หรือ สารละลาย 50% เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สองครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สารประกอบเชิงซ้อนจำเพาะยังถูกใช้ในปริมาณ 600 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ด้วย อย่างไรก็ตามการรับประทานส่วนลาเทกซ์นั้นไม่มีความปลอดภัยนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานในปริมาณมาก

ข้อควรระวังและคำเตือนในการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera):

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

การรับประทานว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ทั้งส่วนเจลและลาเทกซ์นั้นไม่มีความปลอดภัย โดยมีรายงานว่าว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) มีความเกี่ยวข้องกับการแท้งบุตร นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการแต่กำเนิด จึงไม่ควรรับประทานหากตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

เด็ก:

การทาว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ลงบนผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสมมีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามส่วนลาเทกซ์และสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) นั้นไม่ปลอดภัยนักหากจะใช้รับประทานโดยอาจทำให้เกิดแผลในกระเพราะ ปวดเกร็งช่องท้อง ถ่ายเหลวหากใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ผู้ป่วยเบาหวาน:

นักวิจัยพบว่า การรับประทานว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) อาจช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่อย่างไรก็ต้องควบคุมระดับน้ำตามอย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียงในการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera):

ส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น:

  • การปวดท้องและปวดเกร็ง
  • การใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ในปริมาณมาก เป็นระยะเวลานานติดต่อกันอาจก่อให้เกิดอุจจาระร่วง
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต
  • ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ระดับโพแทสเซียมต่ำ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • น้ำหนักลด
  • การทำงานของหัวใจถูกรบกวน
  • การรับประทานวันละ 1 กรัม ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันอาจมีผลถึงแก่ชีวิต
  • มีการรายงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับตับหลังจากการรับประทานสารสกัดจากใบว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)

อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ไม่ได้พบได้ทั่วไปและคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นกับผู้ซึ่งมีการตอบสนองต่อว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ที่สูงผิดปกติเท่านั้น

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวในข้างต้น หากมีความกังกลเกี่ยวกับผลข้างเคียงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาในการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) กับยาอื่น:

ปฏิริยาอะไรจะเกิดขึ้นจากการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) บ้าง

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สามารถทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้ปัจจุบันรวมถึง สภาพร่างกายจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำปฏิริยากับสมุนไพรนี้ ได้แก่:

  • ยาระบายกระตุ้น
    • เมื่อรับประทานส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้ซึ่งเป็นยาระบายกระตุ้น โดยมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ การรับประทานส่วนลาเทกซ์กับยาระบายกระตุ้นอาจทำให้ลำไส้ทำงานเร็วเกินไป ทำให้เกิดการขาดน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย
    • ยาระบายบางชนิดเช่น บิซาโคดิล (Correctol, Dulcolax), คาสคารา, น้ำมันระหุ่ง (Purge), เซนนา (Senokot) และอื่นๆ
  • ยารับประทาน
    • ส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้ เมื่อรับประทานสามารถใช้เป็นยาระบาย โดยยาระบายนี้สามารถปริมาณยาที่ร่างกายดูดซึม ดังนั้การรับประทานส่วนลาเทกซ์ร่วมกับยาปกติอาจลดประสิทธิภาพของยาได้
  • ไดจอกซิน (ลาน็อกซิน)
    • เมื่อรับประทานส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติเป็นยาระบายที่เรียกว่า ยาระบายกระตุ้น โดยยานี้สามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกาย โดยระดับโพแทสเซียมที่ลดลงนี้จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจาก ไดจอกซิน (ลาน็อกซิน)
  • ยารักษาโรคเบาหวาน
  • ซีโวฟลูเรน (Ultane)
    • ว่านหางจระเข้อาจลดประสิทธิภาพการแข็งตัวของเลือด โดย Sevoflurane ที่ปกติแล้วถูกใช้เป็นยาสลบระหว่างผ่าตัด ซีโวฟลูเรน ลดการแข็งตัวของเลือดโดยการรับประทานว่านหางจระเข้ก่อนการผ่าตัดอาจทำให้การเสียดเลือดเพิ่มขึ้นระหว่างขั้นตอนการผ่าตัด จึงไม่ควรรับประทานในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
  • วอร์ฟาร์ริน (Coumadin)
    • เมื่อรับประทานส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้ซึ่งเป็นยาระบายกระตุ้น โดยมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้เกิดอุจจาระร่วงในผู้ใช้บางราย โดยอุจจาระร่วงจะยิ่งเพิ่มผลของวอร์ฟาร์รินและทำให้เสี่ยงต่อการเสียเลือด ฉะนั้นหากรับประทานวอร์ฟาร์รินอยู่แล้วจึงไม่ควรรับประทานลาเทกซ์มากจนเกินไป
  • ยาเม็ดน้ำ
    • เมื่อรับประทานส่วนลาเทกซ์ของว่านหางจระเข้ซึ่งเป็นยาระบาย ยาระบายบางตัวสามารถลดระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ดังนั้นการรับประทานยาเม็ดน้ำร่วมกับลาเทกซ์อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายต่ำจนเกินไป
      ตัวอย่างยาเม็ดน้ำเช่น คลอโรไทอะไซด์ (Diuril) คลอธาริโดน (Thalitone) ฟูโรซีไมด์ (Lasix) ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (HCTZ, HydroDIURIL, Microzide) และอื่นๆ

ขนาดการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera):

ข้อมูลที่ให้ด้านล่างนี้ไม่สามารถใช้แทนของคำแนะนำทางการแพทย์จึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรหรือแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้
ขนาดยาปกติของว่านหางจระเข้

ขนาดปกติของการใช้ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและการใช้ยาอื่น ๆ อาหารเสริมสมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดยาที่เหมาะสม

ผู้ใหญ่
การรับประทาน:

  • สำหรับอาการท้องผูก:
    • ใช้ 100-200 มิลลิกรัมของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) หรือ 50 มิลลิกรัมของสารสกัดว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ในตอนเย็น นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานแคปซูลขนาด 500 mg ที่มีส่วนประกอบของว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) วันละ 1 แคปซูลแล้วค่อยๆเพิ่มเป็นวันละ 3 แคปซูล
  • สำหรับลดน้ำหนัก:
    • ใช้ผลิตภัณฑ์เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) จำเพาะ (Aloe QDM complex, Univera Inc., Seoul, South Korea) ซึ่งประกอบด้วยว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)  147 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์

การใช้กับผิวหนัง:

  • สำหรับรอยไหม้:
    • ทาว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) และครีมน้ำมันมะกอก 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และทาครีมว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) 2 ครั้งต่อวันหลังจากเปลี่ยนที่ปิดแผล หรือทุก ๆ สามวันจนกว่ารอยไหม้จะหาย
  • สำหรับสิว:
    • ใช้เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ความเข้มข้น 50% ทาหลังล้างหน้า เช้า-เย็น ร่วมกับเจลเตรทติโนอิน (Tretinoin) ในตอนเย็น
  • สำหรับผื่นคันบนผิวหนังหรือช่องปาก (ไลเคน พลานัส):
    • ใช้เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ทา 2-3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ หรือ ใช้น้ำยาบ้วนปากจากว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ อมเป็นเวลา 2 นาทีก่อนบ้วน 4 ครั่งต่อวัน

สำหรับปัญหาสภาวะช่องปาก:

  • ใช้เจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) 5 มิลลิกรัมทาบริเวณแก้มทั้งสองข้าง สามครั้งต่อวัน เป็นเวลาสามเดือน

สำหรับโรคสะเก็ดเงิน:

  • ใช้ครีมว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) 0.5% ทา 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์สำหรับเด็ก

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) พบได้รูปแบบต่าง ๆ ดังนี้:

  • น้ำสกัดจากใบ
  • แคปซูล/ซอฟต์เจล
  • เจล

WebMD. (2020). Aloe vera.  Accessed on 15 April 2020. 

WikiPedia. (2020). ว่านหางจรเข้. Accessed on 15 April 2020. 

HealthLine. (2020). 7 Amazing Uses for Aloe Vera. Accessed on 15 April 2020. 

Medical News Today. (2020). What are the benefits of aloe vera?. Accessed on 15 April 2020. 

US National Library of Medicine. ALOE VERA: A SHORT REVIEW. Accessed on 15 April 2020.

 

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว