เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / วิกฤต หรือ โอกาส? กับแนวคิด Retirement Tourism รับสังคมสูงวัยไทย
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
วิกฤต หรือ โอกาส? กับแนวคิด Retirement Tourism รับสังคมสูงวัยไทย

นานาประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และประชากรโลกจะกลายเป็น สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อีก 35 ปีข้างหน้ามีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด นี่เป็นความท้าทายที่ทุกประเทศต้องเผชิญ เพียงแต่ผลที่จะเกิดขึ้นอาจรวดเร็วและรุนแรงแตกต่างกัน ประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าประเทศกำลังพัฒนา โดยในเอเชีย เริ่มจาก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย

จากสถิติพบว่า จำนวนผู้สูงอายุไทย มากกว่าคนในวัยแรงงาน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในต่างประเทศรับมือปัญหาต่างๆ เหล่านี้แล้ว การขยายอายุเกษียณ เป็นนโยบายที่ทำได้ในระยะสั้น แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร หลายประเทศใช้นโยบายนี้เพื่อเพิ่มจำนวนคนวัยทำงาน เป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น สิงคโปร์เพิ่มอายุเกษียณเป็น 67 ปี และเกาหลีใต้ เป็น 60 ปี  ญี่ปุ่นอายุ 65 ปี 

ขณะที่ไทยมีการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ขยายอายุเกษียณราชการจาก 60 ปี เป็น 63 ปี ซึ่งข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ก็เป็นข่าวจริง เพียงแต่ยังทำขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เสร็จ เช่น เงินบำนาญ สวัสดิการต่างๆ ไม่ใช่ข่าวปลอม ต่อไปทางรัฐบาล จะต้องให้ภาคเอกชนจ้างงาน ผู้สูงอายุ โดยจะมีกลไลต่างๆ มาให้ประโยชน์กับเอกชน  เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ การยกระดับคุณภาพชีวิต ทางรัฐบาลไทยได้วางแผนมาตั้งนานแล้ว โดยเกี่ยวพันกับหลายกระทรวง ถึงขั้นวางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะรายได้หลังวัยเกษียณจะทำอย่างไรให้ประเทศชาติไม่ได้รับผลกระทบมาก ความจริงในตอนนี้ เมืองไทยกำลัง เปลี่ยนผ่าน จากสังคมผู้สูงอายุ ไปสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน

นอกจากนี้ นักนวัตกรรม นักพัฒนาเทคโนโลยี กลายเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เช่น หุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ จะทำให้วัยทำงาน กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน ด้านปัญหาสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะไทยยังมีปัญหาระบบสาธารณสุข จึงต้องแก้ไขปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพก่อน เพราะถ้ายังดำเนินการ แบบที่ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.จะทำให้ล่มสลายกันหมด  

และต่อไป ปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงวัย จะทำให้เกิดธุรกิจบริการสุขภาพ โรงพยาบาล ศูนย์บริการทางการแพทย์ บ้านพัก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย มากขึ้น เราจะพบว่า ข่าวสารที่ออกมาของทางการไทย มีรูปแบบทางวิชาการ แต่การปฏิบัติพบว่ากระจัดกระจาย ดังนั้น การก้าวเข้าสู่ความเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในอีกไม่กี่ปี ภาครัฐเป็นแกนหลัก และ ภาคเอกชน จะเข้ามาทำธุรกิจนี้มากขึ้น เพราะอย่าลืมว่า คนสูงวัยไทยยังมีฐานะยากจน ทำให้บางส่วนที่มีฐานะทางการเงินต้องการความสะดวกสบาย ลูกหลานที่เป็นห่วงพ่อแม่ คงไม่อยากให้ท่านต้องใช้ชีวิตตามสถานพยาบาลที่ดูแลไม่ดี

ภาคเอกชนจึงเป็นกำลังหลักสำคัญที่จะส่งเสริม และ สนับสนุนดูแลผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ โดยเฉพาะเรื่อง "ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ"

ล่าสุด Medical Hub ยังไม่มีการขยับแบบเป็นทางการ หลังรัฐมนตรีการท่องเที่ยวหญิงออกไป กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำเรื่องนี้น้อยมาก และไม่มีความตั้งใจจะขับเคลื่อน หรือ อาจจะมองว่า "ไม่ใช่ภารกิจ" แต่ที่ผ่านมามันก็เป็นภารกิจ กรม สบส. การขับเคลื่อนให้เกิด Retirement Tourism หรือ การท่องเที่ยวหลังเกษียณ ในประเทศไทย  คนสูงวัยในไทยท่องเที่ยวในประเทศ ไม่ต้องไปไกลต่างประเทศ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีสถิติที่สูงมากเป็นที่ 1 

จึงสำคัญพอๆ กัน เพราะผู้สูงอายุ บางคนนั้น ไม่ใช่แค่คนแก่ นอนติดเตียงอย่างเดียว ผู้สูงวัยที่แข็งแรง สุขภาพกายดี แต่ปั้นปลายชีวิตก็อยากท่องเที่ยวบ้าง  

14/04/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว