เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน

สุขภาพ เว็บสุขภาพ

โดย : อุไรรัตน์ โรจจ์นานนท์
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ

โบทูลิซึม สาเหตุไม่ใช่แค่หน่อไม้ แต่มาจาก...?

ถ้าเอ่ยถึงโรคร้ายแรงที่ชื่อว่า โบทูลิซึม เราก็จะนึกถึงหน่อไม้อันดับแรก เพราะสาเหตุแรกๆ ของการพบโรคร้ายนี้มาจากการรับประทานหน่อไม้แล้วพบเชื้อชนิดนี้ วันนี้ขอให้ลบภาพเดิมๆ และมาเฝ้าระวังเรื่องอาหารการกินกันให้มากขึ้น...ซึ่งกรมควบคุมฯ โรคได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกๆ ท่านกัน

จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 160 (วันที่ 13 - 19 พ.ค. 61) สรุปข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคโบทูลิซึมในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2540-2557 พบผู้ป่วยยืนยันโรคโบทูลิซึม จำนวน 9 เหตุการณ์ รวมทั้งสิ้น 271 ราย เสียชีวิต 3 ราย ส่วนใหญ่เหตุการณ์เกิดขึ้นทางภาคเหนือ โดยที่จังหวัดน่าน มีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 2 ราย จากการรับประทานหน่อไม้ใบ และที่จังหวัดสระบุรี มีผู้ป่วย 3 ราย เสียชีวิต 1 ราย สาเหตุจากการรับประทานหมูยอ ที่ไม่ได้มาตรฐาน

ในปีนี้จึงอยากให้เฝ้าระวังโรคโรคโบทูลิซึม เพราะคนไทยชอบรับประทานอาหารแปรรูป โรคนี้ร้ายแรงมากหากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษโบทูลินั่ม (Botulinum toxin) ที่สามารถพบได้ทั่วไปในดิน น้ำ หรือแม้แต่ในลำไส้ของปลาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาการป่วยเริ่มจากอาการ โรคทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว แต่ระยะฟักตัวของอาการทางระบบประสาทจะเกิดขึ้น 12-36 ชั่วโมง เช่น ตามัว กลืนลำบาก ลิ้นแข็ง และอาการรุนแรงที่สุดคือกล้ามเนื้อทางเดินหายใจอ่อนแรงจนทำให้หายใจไม่ได้และอาจเสียชีวิตได้

ในอดีตพบว่าอาหารเสี่ยงมักเกิดจากการรับประทานหน่อไม้ใบ แต่อาหารเสี่ยงของโรคนี้สามารถพบได้ในอาหารหลากหลายประเภท ให้ดูที่อาหารบรรจุภัณฑ์มิดชิดแบบอับอากาศ พบปนเปื้อนอยู่ในอาหารกระป๋องบางชนิด หมูยอที่ไม่ได้มาตรฐาน ถั่วเน่า หน่อไม้ต้มบรรจุในถุงพลาสติก ปูดองในขวดโหล

วิธีรับประทานอาหารให้ปลอดภัยและถูกต้องคือต้องนำอาหารไปผ่านความร้อนซ้ำอีกครั้งแม้อาหารแปรรูปที่ซื้อมาจะปรุงสุกมาแล้วก็ตาม หากเกิดอาการรุนแรง เช่น ลิ้นแข็ง ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษา หากพบเชื้อโบทูลินั่มสามารถรักษาด้วยการให้โบทูลินั่มแอนตีท็อกซิน ได้ทันท่วงที พบข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 ที่มาภาพ : http://www.theprepperjournal.com/2013/03/19/a-killer-lurking-in-your-pantry/

บทความอื่นๆ



แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ



WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย

WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล



Copyrights © 2018 - by CHECKSUKKAPHAP.COM