เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน

สุขภาพ เว็บสุขภาพ

โดย : เอกพล สุวรรณหงษ์
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ

อย.เตือนอย่าเชื่อ เอริส!!! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โฆษณาเกินจริง

11 สิงหาคม 2561, กรุงเทพ - พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "เอริส ดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx" และ "เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์" โฆษณาเกินจริงอวดอ้างลดน้ำหนักทางสื่อออนไลน์ เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม อย. ดำเนินการระงับโฆษณา เร่งแจ้งดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย

นพ. พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์ "เอริสดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx" และ "เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์" แล้วมีอาการถ่าย นอนไม่หลับ อาเจียน เวียนหัว อย. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบ พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "เอริส ดีท็อกซ์ ทริปเปิ้ล xxx" และ "เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์" ใช้เลขสารบบอาหารเดียวกัน คือ 11-1-11054-1-0378 และเมื่อตรวจสอบเฟซบุ๊กชื่อ “อาหารเสริมลดน้ำหนักเอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์ ดีลเลอร์ใหญ่ จ.นครปฐม”, “P.a.Moto”, “วรินธร เกษงาม” และ“เอริส By ซีเครซซ์ ไมนซ์” พบการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต โอ้อวดสรรพคุณ ลดน้ำหนัก ขับไขมันส่วนเกินไม่กดประสาท หน้าอกกระชับ หน้าใส

นอกจากนี้ ยังมีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ไม่ระบุผู้ผลิต สถานที่ผลิตและวันผลิต/วันหมดอายุ จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหารพบว่าบริษัทผู้ผลิตตั้งอยู่ที่ จ. สมุทรปราการ แต่ผู้ดำเนินกิจการแจ้งว่าไม่เคยดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ เอริส (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด และทางบริษัท ได้แจ้งยกเลิกเลขสารบบอาหารนี้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงเข้าข่ายอาหารปลอม ผู้ใดผลิต จำหน่าย อาหารปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ อย. ได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณาดังกล่าวแล้ว รวมทั้งดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำการโฆษณาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว

รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายโดยคาดไม่ถึง หากผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วมีอาการผิดปกติหรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Email:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

บทความอื่นๆ



แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ



WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย

WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล



Copyrights © 2018 - by CHECKSUKKAPHAP.COM