เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน

สุขภาพ เว็บสุขภาพ

โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ

“หัวใจเต้นผิดปกติ” อาจมาจากเส้นเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน

หัวใจเต้นผิดปกติคืออะไร

หัวใจเต้นผิดปกติคือการที่หัวใจห้องบน (Atria) เต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถที่จะเต้นเร็วมาก (เกิน 300 ครั้งต่อนาที) ทำให้การไหลเวียนของเลือดอย่างอิสระจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่าง (Ventricles) เป็นไปอย่างยากลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติอาจเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว กลับมาเป็นซ้ำ หรือ เป็นถาวรก็ได้

อะไรคือสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติ

ส่วนใหญ่หัวใจเต้นผิดปกติอาจเกิดจากโรคที่มีผลกับโครงสร้างของหัวใจมาหลายปี ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำไมหัวใจเต้นผิดปกติจึงเกิดกับผู้สูงวัย เช่น การไม่ได้รับการรักษาความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานมากเพื่อที่จะให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้อย่างปกติ งานที่เพิ่มขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขนาด เรียกว่า ภาวะหัวใจโต ขณะที่ขนาดของหัวใจเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อจะแข็ง และโอกาสพัฒนาเป็นหัวใจเต้นผิดปกติเพิ่มขึ้น ความผิดปกติอื่น ๆ ที่สามารถนำไปสู่หัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงโรคลิ้นหัวใจ (เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก), การบวม (เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ) หรือ มีสารน้ำอยู่รอบหัวใจ (น้ำซึมซ่านในถุงหุ้มหัวใจ) ก่อนหัวใจวาย และโรคระบบการนำไฟฟ้าของหัวใจ (เช่น อาการป่วยไซนัส)

ทุกเงื่อนไขไม่ได้เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติที่มีผลต่อหัวใจโดยตรง

เช่น การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปของต่อมไทรอยด์ (ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน) สามารถนำไปสู่หัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงโรคและการติดเชื้อของปอดหลายๆชนิด เช่น โรคปอดบวม

หัวใจเต้นผิดปกติสามารถเกิดจากอารมณ์หรือความเครียด แอลกอฮอล์ นิโคติน และคาเฟอีน

ทำไมหัวใจเต้นผิดปกติจึงเป็นสาเหตุการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง

ขึ้นอยู่กับอายุ และสาเหตุเฉพาะของหัวใจเต้นผิดปกติเรื้อรัง อัตราการเกิดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองสำหรับผู้ที่มีความผิดปกตินี้สามารถเป็นได้ 5 ถึง 17 เท่าสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นหัวใจเต้นผิดปกติ โดยทั่วไป หัวใจเต้นผิดปกติเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองจากลิ่มเลือดที่หลุดจากหัวใจและขวางในหลอดเลือดที่ไปสู่สมอง ลิ่มเลือดจับตัวเมื่อเลือดคงที่เรื้อรังช่วงเวลาหนึ่ง หรือเกิดความปั่นป่วนของการไหลเวียนของเลือด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอและไม่เป็นระบบของหัวใจเต้นผิดปกติ

อาการของหัวใจเต้นผิดปกติมีอะไรบ้าง

ผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดปกติจะมีรายงานอัตราการเต้นของหัวใจเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ จะรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วมาก สำหรับบางคน การเต้นของหัวใจที่เร็วและเต้นไม่เป็นระบบอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านไปยังห้องหัวใจเกิดการบกพร่อง ซึ่งเป็นเหตุให้หน้ามืด เจ็บหน้าอก หรือเกิดการสำลักชั่วคราว

การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติทำอย่างไร

การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดปกติทำได้ง่ายโดยใช้ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่เรียกว่า อีเคจี (EKG) ถ้าผู้ป่วยเป็นหัวใจเต้นผิดปกติ การทดสอบจะแสดงความเร็วและความผิดปกติการเต้นของหัวใจของการหดรัดตัวของหัวใจห้องบน ซึ่งมีอัตราการเต้นอยู่ระหว่าง 300 ถึง 500 ครั้งต่อนาที การหดรัดตัวของหัวใจห้องล่าง (อัตราชีพจร) จะอยู่ในช่วง 120 ถึง 170 ครั้งต่อนาที ถ้าหัวใจเต้นผิดปกติเป็นๆหายๆ แพทย์จะสั่งเครื่องตรวจสอบหัวใจแบบพกพา เรียกว่า การตรวจหัวใจเพื่อบันทึกการทำงานหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เพื่อวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยจะสามารถถือเครื่องตรวจนี้ที่สามารถมีบันทึกสั้น ๆ ตอนที่หัวใจเต้นผิดปกติ ประมาณ 24 ถึง 48 ชั่วโมง

การรักษาหัวใจเต้นผิดปกติทำอย่างไร

การรักษาหัวใจเต้นผิดปกติมีเป้าหมายในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติจากหัวใจห้องบนสู่หัวใจห้องล่าง และเป็นเหตุให้การเต้นของหัวใจทั้งหมดเต้นเร็วมาก ซึ่งเป็นการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างรุนแรง ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอย่างรุนแรง หัวใจเต้นผิดปกติสามารถนำไปสู่หัวใจวายได้ แพทย์สั่งยาทั่วไปเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ รวมถึงยากั้นเบต้า เช่น เมโทโปรลอล (Metoprolol) และตัวแทนอื่น ๆ เช่น ดิจ็อกซิน (Digoxin) และ ดิลไทอะเซม (Diltiazem) ในบางกรณี แพทย์สามารถกระตุ้นหัวใจและหยุดความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติ

ประเด็นที่สำคัญของการรักษาหัวใจเต้นผิดปกติคือทำการเจือจางเลือดด้วยยาเรียกว่า คูมาดิน (Coumadin)

บทความอื่นๆ



แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ



WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย

WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล



Copyrights © 2018 - by CHECKSUKKAPHAP.COM