เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / นิ้วล็อค (Trigger Fingers) สาเหตุ วิธีรักษา
โดย : เจนจิรา จิตรไพบูลย์
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
นิ้วล็อค (Trigger Fingers) สาเหตุ วิธีรักษา

ผู้ป่วยที่มีอาการนิ้วล็อคจะมีอาการนิ้วยึดอยู่ในท่างอ หรือที่เรียกว่า ภาวะปลอกหุ้มเอ็นและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการงอนิ้วมืออักเสบ (Stenosing Tenosynovitis) ภาวะนี้เกิดขึ้นจากการอักเสบที่ทำให้ช่องว่างในปลอกเส้นเอ็นของนิ้วมือนั้นตีบแคบลง จึงทำให้นิ้วล็อคในท่างอเมื่อมีอาการรุนแรงขึ้น

อะไรคือสัญญาณบ่งบอกอาการนิ้วล็อค

ผู้ป่วยที่มีอาการนิ้วล็อคจะมีสัญญาณบ่งบอก ดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการข้อฝืดโดยเฉพาะในตอนเช้า
  • รู้สึกว่าได้ยินเสียงดังกึกเมื่อขยับนิ้ว
  • กดแล้วเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
  • นิ้วล็อคทันทีเมื่อเหยียดนิ้วกระทันหัน
  • นิ้วติดอยู่ในท่างอจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้

นิ้วล็อคเกิดที่นิ้วใดก็ได้ ที่มือทั้งสองข้าง มักแสดงอาการบ่งบอกในตอนเช้า และเกิดขึ้นได้เมื่อต้องกำสิ่งของแน่นๆ หรือเมื่อเหยียดนิ้วออก

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

ผู้ป่วยที่มีอาการข้อต่อนิ้วแสบร้อนหรืออักเสบควรพบแพทย์ เนื่องจากอาการดังกล่าวเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการติดเชื้อ หรือในกรณีข้อต่อนิ้วเกิดอาการฝืด ชา หรือปวด แนะนำให้พบแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษาเช่นกัน

อะไรคือสาเหตุของอาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วเกิดการเสียดสีและอักเสบ ทำให้นิ้วนั้นขยับได้ไม่ดี และหากไม่ได้รับการรักษา ปลอกหุ้มเอ็นที่เกิดการเสียดสีนั้นจะหนาขึ้นจนกลายเป็นพังผืดและเกิดปุ่มที่บริเวณเส้นเอ็น

อะไรคือปัจจัยที่เสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการนิ้วล็อค

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคนั้นแตกต่างกันออกไป เช่น

แพทย์วินิจฉัยอาการนิ้วล็อคได้อย่างไร

แพทย์อาจเลือกวิธีการดังต่อไปนี้เพื่อช่วยวินิจฉัยอาการนิ้วล็อค เช่น

  • แพทย์อาจวินิจฉัยอาการนิ้วล็อคจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยและการตรวจร่างกาย โดยในการตรวจร่างกายนั้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยลองกำมือแบมือ เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บบริเวณใด สามารถเคลื่อนไหวมือได้ปกติหรือไม่ และอาการนิ้วล็อคเกิดขึ้นบริเวณใด
  • นอกจากนี้ แพทย์อาจคลำฝ่ามือผู้ป่วยเพื่อดูว่าเกิดก้อนที่มือหรือไม่

แพทย์รักษาอาการนิ้วล็อคได้อย่างไร

แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระดับและความรุนแรง เช่น

  • การรักษาด้วยยา อาทิ การให้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ต้านอาการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นหลัก
  • การรักษาด้วยการวิธีการบำบัด อาทิ การให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงกิจกรรมในลักษณะที่ต้องเกร็งมือซ้ำๆ หรือให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ดามในท่าเหยียดนิ้วในช่วงกลางคืนอย่างน้อยหกสัปดาห์ หรือแนะนำให้ออกกำลังกายยืดเส้น
  • การศัลยกรรมและกระบวนการทางการแพทย์อื่นๆ อาทิ การฉีดสารสเตียรอยด์ การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือพิเศษเจาะผ่านผิวหนัง (Percutaneous Release) และการผ่าตัดแบบเปิดเพื่อเปิดส่วนที่ตีบในปลอกหุ้มเอ็น

การเตรียมความพร้อมก่อนพบแพทย์

ผู้ป่วยควรเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนการนัดหมาย อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณบ่งบอกอาการนิ้วล็อค ยาที่ผู้ป่วยใช้ ตลอดจนเตรียมคำถามที่ต้องการได้รับคำแนะนำจากแพทย์

สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อพบแพทย์

แพทย์อาจซักถามผู้ป่วยหลายคำถาม เช่น อาการเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ มีความรุนแรงแค่ไหน ในครอบครัวมีใครเป็นโรคนี้หรือไม่ เป็นต้น

ประวัติเจ้าของบทความ

เจนจิรา จิตรไพบูลย์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ ม.เกษตรศาสตร์; ปริญญาโท เอกภาษาอังกฤษธุรกิจเพื่อการสื่อสารนานาชาติ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ; กำลังศึกษาปริญญาเอก เอกภาษาอังกฤษศึกษา ม.ธรรมศาสตร์; ผ่านการอบรมการแปลของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ได้แก่ การแปลให้เก่ง, บรรณาธิการต้นฉบับแปล, และการแปลบทพากย์; และของชมรมนักแปลและล่ามอาชีพในหลักสูตรการแปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นไทย (Intermediate Level)

ปัจจุบัน เจนจิรา เป็นอาจารย์ประจำ นักแปลอิสระเอกสารการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และเป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

05/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง



การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ที่เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันครอบคลุมไปในหลาย ๆ ประเทศ ต่อไปนี้เป็นคำถามและคำตอบสำคัญเกี่ยวกับไวรัส รวมถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อโคโรน่า และหากติดแล้ว มาดูกันว่าอะไรจะเกิดขึ้น

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว