เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) อาการ สาเหตุและการรักษา
โดย : ดุษฎี รชตธนกร
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
กระดูกสะโพกหัก (Hip Fracture) อาการ สาเหตุและการรักษา

ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักมักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ความเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงอย่างภาวะสะโพกหักนี้ จะมีโอกาสสูงขึ้นตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น หรือกล่าวอีกอย่าง ผู้สูงอายุมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก

ผู้ป่วย มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นกับภาวะ กระดูกสะโพกหัก เนื่องจากกระดูกเสื่อมไปตามวัย ที่เรียกว่า โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ผู้ป่วยที่ทานยาหลายอย่างร่วมกัน สายตาพร่ามัว มีปัญหาในการทรงตัว มีโอกาสที่จะหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกสะโพกหัก  

อะไรเป็นข้อบ่งชี้และ อาการ ของภาวะกระดูกสะโพกหัก

ถ้ามีกระดูกสะโพกหัก จะมีข้อบ่งชี้และอาการดังนี้

  • หลังจากการหกล้ม จะไม่สามารถลุกขึ้นได้ และไม่สามารถเดินได้
  • มีอาการเจ็บปวดรุนแรงที่ ขาหนีบ  หรือ สะโพก
  • ไม่สามารถลงน้ำหนักขา ในข้างที่สะโพกคุณบาดเจ็บได้
  • มีอาการฟกช้ำและบวม บริเวณสะโพก
  • ขาข้างที่เกิดสะโพกบาดเจ็บจะสั้นกว่าอีกข้าง
  • มีขาบิดงอ ที่สังเกตเห็นได้ โดยเฉพาะข้างเกิดการบาดเจ็บ

อะไรเป็นสาเหตของการเกิด กระดูกสะโพกหัก

หากเกิดอุบัติรุนแรง เช่น รถชน กระดูกสะโพกอาจหัก สถานการณ์นี้ สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่หากเป็นผู้สูงอายุ ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักจากตกจากที่สูงหรือหกล้มได้

หากกระดูกไม่แข็งแรง ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักเช่นกัน เพียงแค่จากการยืนบนขาข้างที่กระดูกไม่แข็งแรงและบิดงอ

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกสะโพกหัก

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกสะโพกหักอาจมีดังนี้

  • ผู้อายุมากขึ้น: เมื่ออายุคุณมากขึ้น ความหนาแน่นของกระดูกและ มวลกล้ามเนื้อ จะมีแนวโน้มลดลง  ผู้สูงอายุยังมีปัญหาการทรงตัวและการมองเห็น ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงสำหรับการหกล้ม
  • ชายหรือผู้หญิง: ผู้หญิงมีโอกาศเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจาก การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ความหนาแน่นของกระดูกในผู้หญิงจะลดลงเร็วกว่าผู้ชาย ภาวะหมดประจำเดือนยังเป็นตัวเร่งการสูญเสียกระดูกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ชายจะมีการสร้างความหนาแน่นของกระดูกที่ต่ำ
  • การมีโรคกระดูกพรุน: การมีภาวะโรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกไม่แข็งแรง หากคุณมีโรคกระดูกพรุนมีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหัก
  • มีโรคเกี่ยวข้องอื่นๆ: หากมีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะเสื่อมที่เร็วเกินไป (Overactive Impairment) อาจเกิดกระดูกเปราะบาง หากมีระบบการย่อยของลำใส้ผิดปกติ ซึ่งลดการดูดซึม ไวตามินดี และ แคลเซียม อาจจะมีกระดูกไม่แข็งแรง
  • การทานยาบางประเภท: หากมีการทานยาคอร์ติโซน (Cortisone) เป็นเวลานาน เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Prednisone) กระดูกจะไม่แข็งแรง
  • มีปัญหาโภชนาการ: หากได้รับ แคลเซียม และวิตามินดี ไม่เพียงพอ จากการขาดสารอาหารในวัยเด็ก จะไปลดมวลกระดูกสูงสุด (Peak Bone Mass) มีผลทำให้โอกาสเสี่ยงของกระดูกหักเมื่อสูงวัยเพิ่มขึ้น
  • ออกกำลังกายน้อย: หากไม่ค่อยได้มีการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing Exercise) เช่น การเดิน อาจจะมีปัญหากระดูกไม่แข็งแรงและกล้ามเนื้ออ่อนแอ
  • การดื่มเหล้าและสูบบุหรี่:  หากสูบบุหรี่หรือดื่มอัลกอฮอล์ อาจเสียกระดูกตอนอายุมาก


แพทย์วินิจฉัยภาวะกระดูกหักอย่างไร

แพทย์สามารถบอกภาวะกระดูกหักได้จากอาการและ การวางตัวที่ผิดปกติของสะโพกและขา นอกเหนือไปจากนั้น แพทย์จะทำการ เอ็กเรย์ เพื่อยืนยันผล หากคุณมีสะโพกหัก และระบุตำแหน่งที่หัก แพทย์อาจจะแนะนำให้ ทำการ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ สแกนกระดูกเพื่อยืนยันหากคุณมีกระดูกหัก

ภาวะกระดูกสะโพกหักสามารถเกิดได้ที่ สองตําแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนกระดูกท่อนยาวจากกระดูกเชิงกรานถึงหัวเข่า ที่เรียกว่า กระดูกต้นขา

ส่วนคอของกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกหักอาจเกิดบริเวณ ส่วนคอของกระดูกต้นขาซึ่งจะอยู่ส่วนบนของกระดูกต้นขา

บริเวณ อินเตอร์โทรแคนเทอริก (Intertrochanteric) กระดูกสะโพกหักอาจเกิดบริเวณอินเตอร์โทรแคนเทอริก ซึ่งบริเวณนี้ ตำแหน่งจะอยู่ห่างออกมาด้านล่าง จากข้อต่อสะโพกเล็กน้อย

การรักษากระดูกสะโพกหักทำอย่างไร

แพทย์อาจจะแนะนำเลือกการรักษาร่วมระหว่าง การผ่าตัด การฟื้นฟูสมรรรถภาพ และ การทานยา

การผ่าตัด

แพทย์อาจจะแนะนำประเภทของการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่กระดูกสะโพกหักและความรุนแรงของการหัก กระดูกที่หัก อายุ และ สภาพร่างกาย ต่างเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของแพทย์ ที่จะเลือกวิธีการผ่าตัดที่ดีที่สุดให้ ทางเลือกมีดังนี้

การยึดตรึงภายในกระดูก (Internal Repair) ด้วยสกรู แพทย์จะใช้สกรูโลหะ สอดเข้าไปที่กระดูกเพื่อที่จะยึดกระดูกไว้ด้วยกันจนกว่าส่วนที่แตกจะประสานกัน บางครั้งแพทย์จะยึดสกรูเข้ากับแผ่นโลหะยาวลงมาตามกระดูกต้นขา

เปลี่ยนกระดูกสะโพกทั้งหมด  แพทย์จะทำการเปลี่ยนกระดูกเชิงกรานด้วยส่วนวัสดุประดิษฐ์ที่เรียก การใส่สะโพกเทียม จากการศึกษาพบว่าวิธีนี้ จะให้ผลคุ้มค่าในระยะยาว วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี และ อาศัยอยู่ลำพัง

เปลี่ยนกระดูกสะโพกบางส่วน  แพทย์อาจจะทำการเปลี่ยน ส่วนหัวและคอของกระดูกต้นขา และใช้โลหะใส่แทนในกรณีที่กระดูกต้นขาส่วนปลายแตก มีการแยกออกจากกัน หรือเสียสภาพ  วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วย ที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพด้านอื่นด้วย หรือ มีความทรงจำบกพร่องของสภาวะสมอง (Cognitive Impairment) หรือ อาศัยอยู่กับญาติ หรืออาศัยอยู่ลำพัง แต่มีผู้ดูแล

การฟื้นฟูสมรรรถภาพ

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย อาจจะให้คุณ ลุกออกจากเตียง ภายในวันแรกหลังการผ่าตัด และทำกิจกรรมหลายอย่าง ผู้ป่วยจากภาวะกระดูกสะโพกหัก เบื้องต้นต้องการกายภาพบำบัด เน้นกิจกรรมที่มีเป้าหมายที่จะฟื้นฟู การเคลื่อนไหว ของข้อต่อต่างๆ และ การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening Exercises) นอกจากนั้น ผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเพิ่มเติม ภายหลังออกจากโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการผ่าตัดที่คนไข้ได้รับ

ในบางกรณี คุณอาจจะต้องทำงานร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดภายหลังผ่าตัด เพื่อจะเรียนรู้ เทคนิคต่างๆ ในกรณีที่ คุณอาศัยอยู่ลำพัง ในชีวิตประจำวัน ที่สถานพักฟื้น และที่บ้าน เช่นการเข้าห้องน้ำ การอาบน้ำ หรือ  การสวมใส่เสื้อผ้า การทำอาหาร นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยคุณตัดใจ ว่าคุณควรจะใช้ วอล์คเกอร์ หรือ วีลแชร์ อุปกรณ์ช่วยเดิน และ รถเข็นแบบนั่งให้สามารถเคลื่อนที่ที่ง่าย และสำหรับการใช้ชีวิตคนเดียว

การเตรียมสำหรับการนัดหมาย

ก่อนพบแพทย์คุณจะได้รับการแนะนำให้เตรียมข้อมูลสำหรับอาการของคุณ ยาทุกตัวที่ทาน และ เตรียมคำถามที่ต้องการถามแพทย์ และ อื่นๆ

อะไรที่ควรคาดหมายจากแพทย์

คุณอาจจะถูกถามด้วยชุดคำถามต่างๆ เช่นมีอาการตั้งแต่เมื่อไหร่ ความรุนแรงของอาการ หรือบุคคลในครอบครัวมีโรคอะไรกันบ้าง และอื่นๆ

ประวัติเจ้าของบทความ

ดุษฎี รชตธนกร เป็นนักแปลอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์ และเชี่ยวชาญด้านการแปลสายการเงิน การตลาด งานอุปกรณ์โรงงานอุตสาหกรรม โรงกลั่น และ งานยานยนต์อีกด้วย การศึกษา ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์เคมี  ปริญญาโท บริหารธุรกิจ

14/06/2021
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว